ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน : Relearning Space @ Library
บทนำ
สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นความท้าทายของภาครัฐและรธุรกิจคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกระดับทักษะ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามต้องค้นหาทักษะแบบไหนด้านไหน ที่จะรองรับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ให้ทันต่อความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ
องค์กรหลายแห่งกำลังได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัล การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของแรงงาน การพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ การเสริมทักษะให้ทันสมัย และเรียนรู้ทักษะใหม่ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยในการทำงานและเสริมสร้างอาชีพ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงมีความ สำคัญ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก การเสริมทักษะอาชีพและนวัตกรรมดิจิทัลผ่านห้องสมุดประชาชน จึงเป็นเป้าหมายหลัก โดยการพัฒนายกระดับความรู้และเสริมทักษะอาชีพที่สนใจ การเรียนรู้เพื่อขยายโอกาสด้าน reskill และยกระดับทักษะ (upskill) จึงเป็นคำตอบของศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน โดยการจัดห้องเรียนอาชีพ แบบเรียนอาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของนวัตกรรม ให้สามารถมีอาชีพที่สอง สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ชุมชน และสังคมอันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้นำเสนอโครงการศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน (Re-Learning Space @ Library) ต่อมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ เป็นผู้ สนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากห้องสมุดประชาชนสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ใหม่ (Re-Learn) เพื่อ Re-Skill รองรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศ กว่า 627 แห่ง ประสบปัญหาการถูก Disrupt อาทิ จำนวนผู้เข้าใช้บริการน้อยลง รูปแบบการให้บริการเป็นแบบตั้งรับมากเกินไป ประชาชนในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของห้องสมุด มีความหลากหลาย และเผชิญกับปัญหาการถูก Disruption ในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน และจากการลงพื้นที่ในต่างจังหวัด พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้น้อยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเรื่องราคาสินค้าเกษตรที่ราคาตกต่ำ หรือ ตกงาน จึงมีความต้องการพัฒนาความรู้เพื่อสร้างอาชีพที่สองเป็นหลัก
สมาคมห้องสมุดฯ ได้พิจารณานำเสนอโครงการฯ ต่อมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาและเห็นว่าเป็นโครงการที่สำคัญสอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานของมูลนิธิมูลนิธิฯ ในการสร้าง Impact และมีความเป็นไปได้สูงว่าจะพัฒนาเป็น Flagship ต่อไปในอนาคตได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน นักศึกษา ผู้ทำงานและผู้เกษียณอายุการทำงาน ในการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน
- เพื่อส่งเสริมบทบาทใหม่ของห้องสมุดประชาชนในการพัฒนาทักษะและนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ รองรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
- เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้แบบพลิกโฉมในทุกพื้นที่ของชุมชน ในลักษณะ Unlimited Space โดย Re Learning Space @ Library จะเป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ ในฐานะศูนย์กลางเรียนรู้ที่เป็นจุดเริ่มต้น ในการช่วยกระจายความรู้สู่ประชาชนในชุมชนในการเข้าถึงและเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ
- เยาวชน
- นักศึกษา
- ประชาชนทั่วไป
- ผู้เกษียณ/ผู้สูงวัย
เครือข่ายความร่วมมือ
- กศน.
- มหาวิทยาลัยราชภัฏ
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด/อำเภอ/ตำบล
- โรงเรียนผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุ
- วิทยากร/บรรณจิตอาสา
หน่วยงานพันธมิตรของโครงการ
- เครือข่าย กศน. ประกอบด้วย ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ห้องสมุดประชาชนจังหวัด/อำเภอ กศน.ตำบล/หมู่บ้าน ศูนย์ฝึกอาชีพราษฎร์บริเวณชายแดน บ้านหนังสือชุมชน
- เครือข่ายการศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ โรงเรียนผู้สูงอายพ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กองสวัสดิการ สำนักงานเทศบาลเมือง องค์กรบริหารส่วนตำบล/เทศบาล ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มสตรีประจำตำบล วัด
- เครือข่ายอาชีพ ประกอบด้วย กลุ่ม OTOP สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชน
มุมความรู้ ณ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย
- เส้นทางการพัฒนาตนเอง
- การพัฒนาตน
- ทักษะเพิ่มประสิทธิภาพ
- ชีวประวัติ / บุคคลต้นแบบ
- ประวัติบุคคลสำคัญ
- เส้นทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี
2.1 สังคมออนไลน์ การเรียนรู้ Facebook Instagram LINE YouTube etc.
2.2 นวัตกรรมการเรียนรู้ นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ๆ
2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศใกล้ตัว เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นในยุค 4.0
- เส้นทางอาชีพ
3.1 หมวดอาหาร วิธีทำอาหาร การถนอมอาหาร บรรจุภัณฑ์
3.2 หมวดสุขภาพ & ความงาม เสริมสวย ตัดผม แต่งหน้า นวดแผนไทย
3.3 หมวดการเกษตร การปลูกผัก ไฮโดโปนิกส์ ฯลฯ
3.4 หมวดโหราศาสตร์ การพยากรณ์อนาคตด้วยเครืองมือต่างๆ เช่น ไพ่ยิปซี กราฟชีวิต ฯลฯ
3.5 หมวดศิลป ดนตรี วาดภาพ การแสดง
- เส้นทางบรรณอาสา
4.1 ยอดนักอ่าน สร้างนักอ่าน สร้างการตระหนักรู้หนังสือและการอ่าน
4.2 บรรณอาสา ความรู้บรรณารักษ์ศาสตร์พื้นฐาน ให้คำปรึกษาและแนะนำการเข้าถึงองค์ความรู้
- เส้นทางธุรกิจขนาดย่อม
5.1 Start Up การเริ่มต้นธุรกิจ
5.2 การเงิน การวางแผนการเงินส่วนบุคคล ครอบครัว
5.3 การออม วิธีการออม การวางแผนการออมส่วนบุคคล
5.4 การลงทุน ช่องทางการลงทุนแบบต่าง ๆ
- เส้นทางสุขภาพและความงาม
6.1 ศิลป ความงาม
6.2 การดูแลสุขภาพ การกิน การออกกำลังกาย โยคะ ฯลฯ
- เส้นทางวรรณกรรม
7.1 วรรณศิลป์ วรรณกรรม
7.2 นวนิยาย เรื่องสั้น
รูปแบบการดำเนินงานพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ฯ
- การจัดมุม “ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน”
- การพัฒนามุมความรู้ ซึ่งประกอบด้วย หนังสือและสื่อความรู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
เส้นทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี ประกอบด้วย
- สังคมออนไลน์
- นวัตกรรมการเรียนรู้
- เทคโนโลยีสารสนเทศใกล้ตัว
เส้นทางอาชีพ ประกอบด้วย
- อาหารและเครื่องดื่ม
- สุขภาพและความงาม
- การเกษตร
- โหราศาสตร์
- ศิลปะและดนตรี
เส้นทางบรรณารักษ์มืออาชีพ ประกอบด้วย
- การสร้างยอดนักอ่าน
- การสร้างบรรณอาสา
- เส้นทางธุรกิจขนาดย่อม
- ธุรกิจเริ่มต้น
- การเงินและการวางแผนการเงิน
- การออมและการจัดการ
- การลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ
เส้นทางสุขภาพและความงาม ประกอบด้วย
- ศิลปและความงาม
- การดูแลสุขภาพ การเดิน การออกกำลังกาย โยคะ ฯลฯ
เส้นทางวรรณกรรม ประกอบด้วย
- วรรณกรรมและวรรณศิลป์
- นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
เส้นทางการพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย
- การพัฒนาตน
- การพัฒนาทักษะและการเพิ่มประสิทธิภาพ
- ชีวประวัติ บุคคลต้นแบบ
- ประวัติบุคคลสำคัญ
- ประสานงานการออกแบบและจัดทำห้องฝึกปฏิบัติ ศูนย์เรียนรู้ฯ
- Workshop & Gallery @ Uttaradit
- Library Coffee @ Surat Thani
- การฝึกอบรมหลักสูตรฯ ณ ศูนย์การเรียนรู้
- การซ่อมและบำรุงรักษาหนังสือ ไดอารี่
- การผลิตจาน ชาม จากวัสดุธรรมชาติ
- การถนอมและแปรรูปอาหาร อาทิ การกวนผลไม้ ดองผลไม้ ผัก แหนมเห็ด ปลาส้ม ไส้กรอก
- การตัดเย็บผ้า อาทิ หน้ากากผ้า กระเป๋า เป้ พวงกุญแจ
- การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ
- การจักสานเส้นพลาสติก
- เครื่องดื่มสมูทตี้ ชา กาแฟ สมุนไพร
- ขนมและของหวาน เบเกอร์รี่ ถั่วกรอบ ฯลฯ
- การดูพระเครื่อง โหราศาสตร์
- การตัดผม
- การอบรมหลักสูตรออนไลน์พัฒนาทักษะดิจิตอล
แผนการบริหารความเสี่ยงของโครงการในระยะยาว
- ขาดการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
- ขาดบุคลากรดำเนินงาน ประสานงาน และติดตามโครงการฯ เชิงรุก